วันที่: 2018-02-08 14:15:23.0
Bill of Lading นั้นจะถูกใช้ในการขนส่งทางเรือ เป็นเอกสารที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของในสินค้าที่ส่ง ดังเช่น เอกสารนี้จะต้องถูกจัดทำขึ้นที่ปลายทาง โดยผู้นำเข้าที่ปลายทางเพื่อใช้ในการเคลียสินค้า ซึ่งจะเป็นเหมือนเอกสารหลัก Bill of lading นั้น สามารถใช้เป็นเอกสาร ในการทำสัญญาซื้อขายสินค้าให้กับ ผู้อื่น ได้ แม้ว่า สินค้ายังคงอยู่ในทะเลอยู่
จะถูกใช้สำหรับ การขนส่งสินค้าทางอากาศ ดังนี้ :
- เป็นเหมือน เอกสารหลักฐาน ของข้อสรุป ของสัญญา ที่ ผูกมัดกับ ผู้ขนส่ง
- เป็นหลักฐานในการรับสินค้า
- เป็น ใบแจ้งหนี้ ของ ค่าขนส่ง
- เป็น ใบรับรองทางด้านประกัน
- เป็น คำแนะนำ ให้กับพนักงานสายการบิน ในการ จัดการ ขนส่ง สินค้า ในแต่ละครั้ง
เนื่องจากว่า การขนส่งทางอากาศจะถุกจัดส่ง โดยเครื่องลำเดียวกัน แล้ว air way bill จะสัมพันธ์กันกับการ โอนเงินจ่ายล่วงหน้า ตาม air way bill no ที่ให้ไว้นั้น คุณสามารถติดตามการขนส่ง แบบออนไลน์ได้ โดยปกติเรา จะส่งเอกสารตัวจริง air way bill ไว้ให้ 2 ชุด
เอกสาร Invoice และ Packing list จะบ่งบอกถึง จำนวนและ รายละเอียดของสินค้า จำนวน บรรจุหีบห่อ จำนวน น้ำหนักทั้งหมดของสินค้า รายการเหล่านี้ จะทำให้คุณสามารถตรวจสอบ จำนวน สินค้าที่ได้รับ ได้อย่างถูกต้อง และ ศุลกากร ก็สามารถตรวจสอบ จำนวน สินค้า ได้ อย่าง ง่ายดาย
เอกสารเพิ่มเติม
- Fumigate Cer: เป็นเอกสาร ที่ ใช้สำหรับสินค้าที่ทำมาจากไม้ หรือบรรจุหีบห่อที่ทำจากไม้ , 1 ใบอนุญาติ จะใช้ ต่อ 1 shipment
- Certificate of origin:เป็นเอกสาร ที่ ใช้สำหรับสินค้าที่ทำมาจาก พวก ผ้า , 1 ใบอนุญาติ จะใช้ ต่อ 1 shipment
- Phytosanitary Cert: เป็นเอกสาร ที่ ใช้สำหรับสินค้าจำพวก พืช , 1 ใบอนุญาติ จะใช้ ต่อ 1 shipment
- ISF FORM : ใช้สำหรับ การส่งสินค้าทางเรือ ไปยังประเทศ USA
เนื่องจากการรมยานั้น เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และถูกใช้กันอย่างกว้างขวางในการกำจัดพวกศัตรูพืชและสัตว์ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อ shipment ได้ การรมยายังเป็นวิธีในการป้องกันศัตรูพืช และสัตว์ จากประเทศอื่นๆ ผ่าน สินค้านำเข้าต่างๆ และ ตัวไม้ ที่ใช้ในการ บรรจุหีบห่อ ใบรับรองการรมยา จะใช้ เป็นหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ว่าบรรจุภัณฑ์ สินค้า ที่จำพวกลังโปร่ง ลังทึบ หรือรวมทั้งสินค้าที่ทำมาจากไม้ ได้ผ่านการรมยาแล้ว ในใบรับรองจะแสดงถึงจุดประสงค์ของการรมยา สินค้าที่เกี่ยวข้องอุณหภูมิในการรม สารเคมีที่ใช้ในการรม เพราะโดยปกติแล้ว สำหรับสินค้าที่จะแตกหักเสียหายง่าย เราจะใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นลังไม้ บรรจุ
C/O เป็นเอกสาร ที่ใช้สำหรับการค้าระหว่างประเทศ มันเป็นการแสดงถึงว่าสินค้านั้นๆ มีแหล่งกำเนิด
มาจากที่ไหน ประเทศอะไร C/O นั้น จะมีความสำคัญ ในการแยกประเภทสินค้า สำหรับกรมศุลกากร ฝ่ายนำเข้า ของแต่ละประเทศ และจะทำให้มีการคำนวณถึงภาษีนำเข้าในแต่ละครั้งได้ และมันยังมีความสำคัญ สำหรับ โควต้า
การนำเข้า และการกำหนดสถิติต่างๆ และเป็นพิเศษ สำหรับการขนส่งพวกอาหาร และ ยังสำคัญสำหรับพวกกฏ ของสุขอนามัยต่างๆ ก่อนที่จะสรุปเรื่องการขนส่ง ผู้นำเข้าและ ผู้ส่งออก ควรจะตกลงกันให้ชัดเจนว่าต้องการ C/O
นี้หรือไม่ จะได้มีข้อมูลที่ถูกต้องตามที่ตกลงกันทั้ง 2 ฝ่าย
จุดประสงค์หลัก ของเอกสารนี้ คือ Janitary Certificate การนำเข้าพืชพรรณ ไปยังประเทศต่างๆ เอกสารรับรองนี้ เป็นเอกสารรับรองพืชพรรณ โดยรัฐบาลไทย ว่าได้ปราศจากเชื้อโรค หรือศัตรูพืชและสัตว์ไปยังประเทศต่างๆ ที่จะนำเข้าสินค้านี้ ออกโดยกระทรวงกรมวิชาการเกษตร
ISF นี้ มีจุดประสงค์ที่จะป้องกันอาวุธจากผู้ก่อการร้าย ที่จะถูกขนส่งเข้าไปยังประเทศ USA โดยรัฐบาล USA จะต้องการให้ทั้งผู้นำเข้าสินค้าและสายเรือนั้น ส่งเอกสารและข้อมูลต่างๆของสินค้าก่อนที่สินค้าจะนำเข้าประเทศ USA ภายใต้เอกสาร ISF 10+2 นี้ ผู้นำเข้าจะต้อง มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งข้อมูลต่างๆ ก่อนที่สินค้านั้น จะถูกนำไปโหลดขึ้นที่ ท่าเรือ ที่ประเทศไทย ISF นั้น จะต้องมีการ update และส่งก่อนที่เรือจะโหลดสินค้า ล่วงหน้า 72 ชม. และ ต้องการ 2 ข้อมูลสำคัญ ทีต้องแจ้งล่วงหน้า 72 ชม. คือ
1. ที่ โหลดตู้ คอนเทนเนอร์
2. ผู้รวบรวมสินค้า
บทลงโทษ ถ้าไม่ได้มีการส่ง ISF คือจะถูกปรับเป็นเงิน USD 5,000
- ใบอนุญาติในการส่งออกสินค้า จำพวกพระพุทธรูป หรือศิลปวัตถุ
- ทางเราจะดำเนินการในการขอใบอนุญาตินี้ให้กับลูกค้า โดยจะนำสินค้าไปขอที่กรมศิลป์ เพื่อทำการตรวจสอบ
หากทางลูกค้า มีความประสงค์ ที่จะส่ง โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ได้แก่ โบราณวัตถุจำลองหรือผลิตขึ้นใหม่ (อายุไม่เกิน ๕ ปี ไม่ต้องขออนุญาต) และ พระพุทธรูปและรูปเคารพที่ทำขึ้นใหม่และส่งหรือนำออก หรือส่งหรือนำออกเป็น ชิ้นส่วนเพื่อการศึกษา และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ทางเรา ได้ให้บริการในการจัดการ และดำเนินการ การนำสิ่ง ของเหล่านี้ ไป ขอใบอนุญาต จากทางกรมศิลปากร
โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ไม่สามารถอนุญาตส่งหรือนำออกนอกประเทศไทย ได้แก่ ชิ้นส่วนของ พระพุทธรูป และรูปเคารพในพระพุทธศาสนาที่สร้างไม่ครบองค์ประกอบ หรือมีสภาพชำรุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรม การตรวจพิสูจน์ของกรมศิลปากร
|
|
|